READING

ลูกกลัวความผิดพลาด : วิธีเสริมแรงให้ลูกมีความกล้าห...

ลูกกลัวความผิดพลาด : วิธีเสริมแรงให้ลูกมีความกล้าหาญอย่างเหมาะสม

ลูกกลัวความผิดพลาด

หากลูกร้องไห้งอแงหรือโวยวายเพียงเพราะทำอะไรไม่สำเร็จ หรือแม้แต่เล่นของเล่นเสริมทักษะได้ไม่ดี เช่น ต่อตัวต่อไม่สำเร็จ และพาลทำให้ไม่อยากเล่นอีกต่อไป

อาการ ลูกกลัวความผิดพลาด มาพร้อมกับอารมณ์ที่ผิดหวังอย่างหนัก จนแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารักออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ หากลูกเป็นเช่นนี้ คุณพ่อคุณแม่จะทำอย่างไร…

เด็กอนุบาลเป็นช่วงวัยที่กำลังหัดต่อสู้และรับมือกับความผิดพลาด เพื่อเพิ่มทักษะความกล้าเผชิญหน้ากับความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเส้นทางของการเติบโต แต่คำถามที่น่าสนใจคือ แล้วผู้ปกครองจะช่วยให้ลูกก้าวข้ามความกลัวเหล่านั้นให้เหมาะสมได้อย่างไร จะเสริมแรงด้วยวิธีไหนที่จะช่วยสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง มีความมั่นใจ มีแรงจูงใจ แรงผลักดัน และความมุ่งมั่นมากพอที่ลุกและเดินไปข้างหน้า ก้าวผ่านความรู้สึกกลัวการทำผิดพลาด แล้วหาวิธีใหม่อย่างถูกต้องเหมาะสม และสร้างความสบายใจให้กับตัวเองได้

เพื่อให้ลูกค่อยๆ ลดระดับความกลัวการทำผิดพลาด และค่อยๆ เพิ่มระดับความกล้าหาญให้หัวใจได้อย่างเหมาะสม เราได้รวบรวมคำแนะนำดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูก มาให้ดังนี้ค่ะ

1. คำพูดหวานเจี๊ยบที่ทรงพลัง

FearofFailure_web_1

Krystal Dreisbach, LMFT นักบำบัดด้านการแต่งงานและครอบครัวที่มีใบอนุญาต แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ใช้คำพูดเชิงบวกที่สั้น กระชับ และเข้าใจง่ายที่สุด เพราะเด็กๆ มักจะเข้าใจคำพูดตามความเป็นจริงได้ง่าย การเลือกใช้คำพูดของคุณพ่อคุณแม่จึงมีความสำคัญอย่างมาก

2. แรงฮึด VS.. แรงเหี่ยว ทัศนคติความกลัวที่ลูกเรียนรู้จากคุณพ่อคุณแม่

FearofFailure_web_2

ข้อมูลจาก Carol Dweck และ Kyla Haimovitz นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด พบว่า เด็กๆ จะเรียนรู้ทัศนคติเกี่ยวกับความล้มเหลว ความวิตกกังวล ความกลัวการทำผิดพลาดมาจากคุณพ่อคุณแม่ เด็กๆ จะพัฒนาการเรียนรู้ได้ออกเป็นสองทางคือ แรงฮึดจากความล้มเหลว และแรงเหี่ยวจากความกลัวการทำผิดพลาด

เมื่อคุณพ่อคุณแม่เองเริ่มรู้สึกกลัวการทำผิดพลาด วิตกกังวลอะไรบางอย่าง หลีกเลี่ยงที่จะให้แสดงให้ลูกเห็น แต่ไม่ได้หมายความว่า ให้คุณพ่อคุณแม่ปฏิเสธรู้สึกเหล่านั้น แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ทัศนคติเหล่านี้เกิดขึ้น ให้ใช้เวลาอยู่กับตัวเองก่อน เมื่อปรับจิตใจได้แล้ว ค่อยๆ พูดคุยกับลูกถึงสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่เรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบัน เพื่อแสดงให้ลูกเห็นถึงความพยายามอย่างเต็มที่ ลูกเองก็จะเต็มใจปรับตัว ปรับใจ และลองใหม่ ในวันที่ต้องเผชิญหน้ากับความกลัวอีกครั้ง

3. แบบฝึกหัด “ถ้าหาก…. + สถานการณ์ที่ไม่ดีต่อใจลูก”

FearofFailure_web_3

ตามคำแนะนำของ Tim Ferriss นักเขียนและนักพูด ได้ใช้แบบฝึกหัดเพื่อบรรเทาความกลัวและลดความวิตกกังวลที่น่าสนใจ อย่าง Worst-Case Scenario เรียนรู้จากสถานการณ์ที่แย่ที่สุด โดยแบ่งกระดาษออกเป็นสามช่อง ช่องแรกระบุสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ช่องสอง วิธีป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้น ช่องสุดท้าย หากเจอจริงจะทำยังไง

แบบฝึกหัดนี้นำมาปรับใช้กับลูกได้ หากลูกกลัวที่จะลองทำสิ่งใหม่ๆ กลัวทำแล้วผิดพลาด ให้หยิบกระดาษออกมาแล้วลองใช้วิธีนี้ แต่ปรับให้น่ารักและสนุกมากขึ้น

ตัวอย่าง ช่องแรก สิ่งที่ลูกอยากจะบอกหรือเล่าว่ากลัวเรื่องอะไร ช่องถัดไป หนูทำอะไรได้บ้าง อาจจะเพิ่มตัวเลือกในช่องนี้ เช่น หนูจะกอดตัวเอง หนูจะพยายามอีกครั้ง หนูจะวางลงก่อนแล้วค่อยทำ ช่องต่อมา คือ แล้วอะไรทำให้หนูรู้สึกดีขึ้น เช่น กอดคุณพ่อคุณแม่ ร้องเพลงเสียงดังๆ ในห้องน้ำ ฮัมเพลงเบาๆ ให้กับตัวเอง เล่าให้คุณพ่อคุณแม่ฟัง สำหรับเด็กอนุบาล คุณพ่อคุณแม่จะต้องมีส่วนร่วมช่วยกันทำ เป้าหมายคือ ให้ลูกเรียนรู้ จดจำ ก่อนนำไปใช้ในสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น ติดตัวไว้ใช้ได้ตั้งแต่ยังเล็ก

4. มอบความรักที่ไม่มีเงื่อนไข อย่างไร้ขีดจำกัด

FearofFailure_web_4

Matt Covington ศาสตราจารย์แห่ง University of California, Berkeley เคยกล่าวไว้ ความกลัวการผิดพลาด กลัวที่จะล้มเหลว ส่งผลต่อการมองเห็นคุณค่าในตัวเอง

เด็กๆ มักจะผูกคุณค่าของตัวเองเข้ากับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่คิดเห็นเกี่ยวกับตัวของเขา เช่น ลูกอาจรู้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่จะไม่รัก หากเขาซนมากเกินไป จะไม่ได้รับคำชม หากทำได้ไม่ดีพอ โดยธรรมชาติแล้ว ความเชื่อเหล่านี้จะส่งผลทำให้เกิดความกลัวการผิดพลาดหรือล้มเหลว

แต่หากคุณพ่อคุณแม่เพิ่มความรู้สึกการมีคุณค่าในตัวเองของลูก แสดงให้ชัดว่า คุณพ่อคุณแม่รักลูกอย่างไม่มีเงื่อนไข แม้ว่าลูกจะทำผิดพลาด ตัดสินใจไม่ดี หรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก ลูกก็จะลดความเชื่อที่ว่าเขาจะเป็นที่รักก็ต่อเมื่อทำอะไรบางอย่างสำเร็จ

อ้างอิง
kcdreisbach
biglifejournal

Saranya A.

ศรัญญา อ่าวสมบัติกุล: คุณแม่มือใหม่ ที่มีความตั้งใจเลี้ยงลูกชายตัวน้อยด้วยการยึดโยงธรรมชาติ และความคิดสร้างสรรค์เข้าด้วยกัน คุณแม่คนนี้หลงรักและทำงานด้านการเขียนมากว่า 12 ปี ตอนนี้มีความฝันอยากเป็นนักวาดนิทานเด็ก

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST