คุณพ่อคุณแม่รุ่นใหม่ส่วนมากมักจะมีความตั้งใจอยากเป็นพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกเชิงบวก อ่อนโยนแต่ไม่ใจอ่อน ให้อิสระแต่ก็อยู่ในขอบเขต ตักเตือนแต่ไม่ใช้น้ำเสียงดุดัน หรือมีบทลงโทษ แต่ไม่ใช้ความรุนแรง แต่หลายครั้งความตั้งใจดีๆ ของคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่เป็นผล หรือการเลี้ยงลูกเชิงบวกจะไม่ง่ายอย่างที่คิด
เมื่อลูกเข้าสู่วัยอนุบาล คุณพ่อคุณแม่ก็น่าจะเคยได้ยินเรื่องเล่าแปลกๆ จากลูกอยู่บ้าง บางเรื่องก็เล่าจากเหตุการณ์ที่เจอในวันนั้น แต่บางเรื่อง ก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่อดนึกสงสัยไม่ได้ว่า ลูกวัยซนคนช่างเจรจาคนนี้ กำลังขี้โม้ โอ้อวด หรือพูดจาเกินจริงมากไปหรือเปล่า…
เมื่อลูกเข้าสู่วัยอนุบาล การให้ลูกงีบหลับหรือนอนกลางวันก็กลายเป็นเรื่องยากมากขึ้นเรื่อยๆ ประสบการณ์นี้ของคุณพ่อคุณแม่ ตรงกับข้อเท็จจริงของ Rosalee Lahaie Hera ที่ปรึกษาด้านการนอนหลับของเด็กอายุ 0-6 ปี แห่งเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ที่กล่าวว่า เด็กส่วนมากจะเริ่มต่อต้านการงีบหลับหรือพยายามเข้านอนช้าลงเมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป
การอาบป่า (forest bathing) หรือชาวญี่ปุ่นที่เรียกว่าชินริน โยกุ (shinrin – yoku) เป็นการบำบัดร่างกายผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยการเดินป่า เพื่อปล่อยให้ธรรมชาติโอบกอดร่างกาย บรรเทาความเครียด เสริมสร้างสุขภาพ และนำพาจิตใจที่อ่อนล้าให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
ช่วงแรกของการไปโรงเรียนคือช่วงเวลาที่ทำใจได้ยากสำหรับลูกเสมอ เพราะเด็กๆ จะต้องรับมือกับความกลัวการแยกจากคุณพ่อคุณแม่ การถูกทอดทิ้ง ความไม่คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ไม่ไว้ใจคนแปลกหน้าที่เพิ่งรู้จัก และความวิตกกังวลเมื่อรู้ว่าจะไม่มีคุณพ่อคุณแม่อยู่ใกล้และคอยให้ความช่วยเหลือตลอดเวลาเหมือนเดิมอีก
เราทุกคนล้วนมีสัญชาตญานในการปกป้องตัวเองให้พ้นผิด และมักแสดงออกด้วยการปฏิเสธความจริง กล้าทำแต่ไม่กล้ารับ และโยนความผิดให้คนอื่น พฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยเด็ก
ได้เวลาพาลูกวัยซนไปเคลื่อนไหวร่างกายให้ครบทุกส่วน ขับเหงื่อทุกหยด ปลดปล่อยพลังงานให้หมด แล้วกินให้เต็มพุง กันที่ Wonder Woods Co-learning space & Kids Café เพลย์กราวนด์เปิดใหม่ย่านพัฒนาการ ที่กำลังฮอตฮิตในหมู่แก๊งฟันน้ำนม
ช่วงปฐมวัยของลูก หนึ่งในพฤติกรรมที่มักจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องกุมขมับอยู่บ่อยๆ ก็คือ การยืดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่รู้จัก เห็นอกเห็นใจคนอื่น นึกถึงตัวเองเป็นหลัก และต้องการการตอบสนองอย่างเร่งด่วน
วัยอนุบาลเป็นช่วงเวลาที่ลูกได้เป็นเด็กน้อยอย่างเต็มที่ คุณพ่อคุณแม่จะได้เห็นความสดใส รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความแสบซนให้อยู่เสมอ แต่หากวันหนึ่งลูกเริ่มหาเหตุผลมากมายที่จะไม่ไปโรงเรียน เริ่มไม่อยากเจอเพื่อนบางคน มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ร้องไห้บ่อย และไม่สดใสเหมือนเดิม นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าลูกกำลังถูกกลั่นแกล้ง ไม่ว่าจะเป็นงทางร่างกายหรือจิตใจได้
การเก็บกด (repression) เป็นรูปแบบหนึ่งของกลไกการป้องกันตนเอง จากความทรงจำที่ไม่ดี หรืออารมณ์ที่ต้องอดทน อดกลั้น คับข้องใจ เป็นระยะเวลานาน แล้วพยายามเก็บไว้ในจิตใต้สำนึก ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว จนวันหนึ่งที่เก็บไว้ไม่ไหว จากความรู้สึกที่อยู่ในใจก็เริ่มกลายเป็นพฤติกรรม