เวลาที่ ลูกทำความผิด เช่น หยิบของเพื่อนไปโดยไม่ได้รับอนุญาต โกหก ไม่ยอมรับผิด หรือมีพฤติกรรมไม่น่ารักในสายตาคนอื่น อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกโกรธ เสียใจ และผิดหวังในตัวลูก รวมถึงนึกโทษการเลี้ยงดูของตัวเองที่อาจมีผลต่อพฤติกรรมและการทำความผิดของลูกได้
เมื่อสถานะสามีภรรยาสิ้นสุดลง แต่บทบาทหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ ไม่จำเป็นต้องมอบหมายให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับผิดชอบตามลำพัง และเมื่อคุณพ่อคุณแม่เลือกความสุขของลูกเป็นที่ตั้ง จึงทำให้เกิดความสัมพันธ์ในรูปแบบ co-parenting หรือการเลี้ยงดูลูกร่วมกัน ระหว่างคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันนั่นเอง
Executive Functions (EF) คือทักษะทางความคิด หรือกระบวนการทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่คุณพ่อคุณแม่รุ่นใหม่ อยากให้ลูกมี EF เพราะนักวิชาการระดับโลกต่างให้ความเห็นว่า การมี EF นั้น สำคัญกว่า IQ
เพราะไม่มีใครชอบคนเห็นแก่ตัวและมีนิสัยชอบเอาเปรียบคนอื่น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงรู้สึกไม่สบายใจ เมื่อสังเกตเห็นว่า ลูกเริ่มมีพฤติกรรมและนิสัยเห็นแก่ตัว ก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจได้ไม่น้อย
คุณพ่อคุณแม่คงเคยลำบากใจ เวลาที่ญาติพี่น้อง คนรู้จัก หรือคนแปลกหน้าอยากเข้ามาทักทาย หยอกล้อ และเล่นกับลูกของเรา แต่ปัญหาก็คือ ผู้ใหญ่บางคน อยากเล่นกับเด็ก แต่ไม่รู้ว่าจะเข้าหาเด็กอย่างไร
สำหรับเด็กวัย 3 – 5 ปี คือช่วงเวลาที่พวกเขาจะได้เรียนรู้ความรู้สีกรักและหวงแหนอย่างจริงจังครั้งแรกในชีวิต ซึ่งความรักของเด็กวัยนี้ จะแสดงออกในรูปแบบลูกที่อยากอยู่ใกล้ชิดกับคุณพ่อคุณแม่ตลอดเวลา และถ้าสังเกตให้ดี เราจะพบว่าช่วงวัยนี้ ลูกสาวจะเริ่มให้ความสนใจและติดคุณพ่อมากขึ้น ส่วนลูกชายก็ติดคุณแม่ และอาจติดมากถึงขั้นรักและหวงคุณแม่จนไม่อยากให้ใครมายุ่ง (แม้แต่คุณพ่อเองก็ไม่ได้!)
- 1
- 2
- 3
…
- 5
- Next Page →