READING

ลูกเจ้าน้ำตา: 4 วิธีรับมือลูกขี้แยและร้องไห้เก่ง...

ลูกเจ้าน้ำตา: 4 วิธีรับมือลูกขี้แยและร้องไห้เก่ง

ลูกเจ้าน้ำตา

คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตไหมว่า จะมีช่วงวัยหนึ่งที่ลูกมักจะเลือกใช้วิธีร้องไห้งอแงเพื่อแสดงออกและเรียกร้องสิ่งที่ตัวเองต้องการ

พอเจอลูกเล่นบทดราม่าร้องไห้สะอึกสะอื้น คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องยอมใจอ่อน เพราะไม่รู้ว่าจะรับมืออย่างไร กลายเป็นยิ่งส่งเสริมให้ ลูกเจ้าน้ำตา เรียนรู้ว่าจะสิ่งที่ต้องการเมื่อร้องไห้งอแงเสมอ

ดังนั้น เมื่อเจอ ลูกเจ้าน้ำตา คุณพ่อคุณยิ่งควรตั้งสติให้มั่น ไม่สติแตกหรือใจอ่อนไปกับการเสียน้ำตาของลูก เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกในระยะยาวต่อไป

1. อดทนและตั้งสติ

Cryingchild_web_1

เวลาที่ลูกงอแงและเอาแต่ใจ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตอบสนองลูกด้วยความใจร้อน ก็จะทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตั้งสติและบอกให้ลูกใจเย็นและค่อยๆ อธิบายความต้องการของตัวเองออกมา เช่น “หนูลองหยุดร้องไห้แล้วบอกคุณแม่ว่าต้องการอะไร หรือบอกเหตุผลดีๆ ให้คุณแม่จะเข้าใจลูก จะได้ผลที่ดีกว่านะคะ”

2. ฝึกให้ลูกอดทนรอคอย

Cryingchild_web_2

ถ้าทุกครั้งที่ลูกร้องไห้แล้วคุณพ่อคุณแม่รีบตอบสนองหรือตามใจมากเกินไป ลูกจะเข้าใจว่าการร้องไห้งอแงเป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลเสมอ คุณพ่อคุณแม่จึงควรฝึกให้ลูกรู้จักการรอคอย เพราะการรีบตอบสนองลูกเร็วเกินไป จะยิ่งทำให้ลูกใจร้อน รอไม่เป็น และร้องไห้งอแงมากขึ้นกว่าเดิม

3. ทำข้อตกลงกับลูกล่วงหน้า

Cryingchild_web_3

คุณพ่อคุณแม่ควรทำข้อตกลงกับลูกล่วงหน้า เช่น ถ้าไปห้างสรรพสินค้าแล้วลูกอยากได้ของเล่นชิ้นไหน จะต้องค่อยๆ คิดและอธิบายเหตุผลให้คุณแม่ฟัง ไม่ร้องไห้งอแง หรือทิ้งตัวลงไปกรีดร้องกับพื้น เพราะยิ่งลูกร้องไห้เสียงดังรบกวนคนอื่น หรือไม่ทำตามที่ตกลง คุณพ่อคุณแม่จะพาลูกกลับบ้านทันที

ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องจริงจังและเด็ดขาดกับข้อตกลงนั้น โดยไม่ต้องใจอ่อนหรือต่อรอง เพราะความเด็ดขาดของคุณพ่อคุณแม่จะช่วยให้ลูกรู้ว่าการร้องไห้งอแงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อตกลงได้

4. ลองใจแข็งดูบ้าง

Cryingchild_web_4

จุดอ่อนของคุณพ่อคุณแม่ทุกคนก็คือใจอ่อนและสงสารเมื่อเห็นลูกร้องไห้ รวมถึงต้องการตัดรำคาญเพื่อจบเรื่องให้เร็วที่สุด นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ลูกยังคงใช้น้ำตาในการต่อรองและเอาชนะคุณพ่อคุณแม่มาตลอด

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง อดทนกับการร้องไห้งอแงของลูกด้วยความใจเย็น และไม่ใจอ่อนสงสารเมื่อลูกอ้อนวอนขออย่างไร้เหตุผล เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าเขาไม่สามารถได้ทุกอย่างมาจากการร้องไห้งอแงเสมอไป

อ้างอิง
Positiveparenting
raisingchildren

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

COMMENTS ARE OFF THIS POST