READING

ลูกหน้าเหมือนพ่อ : ไขข้อข้องใจทำไมทารกมักหน้าตาเหม...

ลูกหน้าเหมือนพ่อ : ไขข้อข้องใจทำไมทารกมักหน้าตาเหมือนพ่อมากกว่าแม่

ลูกหน้าเหมือนพ่อ

คนไทยมักมีความเชื่อและคำพูดที่ว่า ‘ลูกชายต้องหน้าเหมือนแม่ ส่วนลูกสาวต้องหน้าเหมือนพ่อ ถึงจะดี’ แต่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เคยสังเกตไหมว่า ทารกหลังคลอดไม่ว่าจะเพศไหนก็มักได้รับการทักทายและชื่นชมว่า “หน้าตาได้พ่อมาเลยนะเนี่ย”

แต่พอลูกค่อยๆ โตขึ้น จากที่เข้าใจมาตลอดว่า ลูกหน้าเหมือนพ่อ ก็เริ่มมีคนว่าหน้าเหมือนแม่ หรือเหมือนคุณย่า-คุณยายไปเลยก็มี

แล้วช่วงวัยแบเบาะ จะเป็นช่วงที่ ลูกหน้าเหมือนพ่อ มากกว่าแม่จริงหรือ? ลองมาหาเหตุผลและทำความเข้าใจเรื่องนี้ไปด้วยกันดีกว่าค่ะ

ResembleDad_1

งานวิจัยปี 2538 โดย Nicholas Christenfeld และ Emily Hill แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ได้ลองจับคู่ภาพถ่ายของเด็กอายุ 1 ขวบกับภาพของพ่อและแม่ ซึ่งผลลัพธ์ของงานวิจัยคือเด็กส่วนใหญ่หน้าตาคล้ายพ่อมากกว่าแม่ งานวิจัยนี้จึงทำให้เกิดการพยายามพิสูจน์ต่อไปว่าความจริงเป็นเช่นไรกันแน่

ต่อมานักจิตวิทยา Robert French จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติในฝรั่งเศส ได้นำงานวิจัยดังกล่าวมาศึกษาต่อ แต่ผลลัพธ์เชิงจิตวิทยากับระบุว่า เด็กแบเบาะมีความคล้ายคลึงกับพ่อและแม่ ไม่แตกต่างกัน

ResembleDad_2

ในงานวิจัยในวารสาร Evolution & Human Behavior ในปี 1999 ได้ข้อสรุปว่า ทารกส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกับพ่อและแม่อย่างเท่าเทียมกัน  โดยทารกบางคนอาจคล้ายพ่อมากกว่า แต่ทารกบางคนก็คล้ายแม่มากกว่าเช่นกัน ดังนั้น คำกล่าวที่ว่าลูกแบเบาะจะหน้าตาเหมือนพ่อมากกว่าแม่จึงไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด

แล้วทำไมคนชอบทักว่า ลูกหน้าเหมือนพ่อ ?

ResembleDad_3

เป็นไปได้ไหมว่า โดยธรรมชาติแล้วคนมักจะรู้สึกว่าแม่เป็นเจ้าของและเชื่อมโยงกับลูกมากกว่า โดยเฉพาะหลังคลอด ส่วนสัญชาตญาณของคุณพ่อนั้น ก็ต้องการสร้างความรู้สึกเชื่อมั่นและเป็นส่วนหนึ่งกับลูก วิวัฒนาการของมนุษย์จึงพยายามทำให้ทารกมีลักษณะคล้ายคุณพ่อตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อยืนยันในความเป็นพ่อของคุณพ่อนั่นเอง

ResembleDad_4

งานวิจัยบนวารสาร Evolution & Human Behavior ปี 2000 และ 2007ระบุว่า เด็กแรกเกิดจะหน้าตาคล้ายคุณแม่มากกว่าคุณพ่อตั้งแต่ช่วงสามวันแรกของชีวิต  แต่คุณแม่ส่วนใหญ่มักรู้สึกและเลือกที่จะพูดในทางตรงกันข้ามว่า ลูกหน้าเหมือนพ่อ หรือชี้ให้เห็นถึงส่วนที่คล้ายคุณพ่อมากกว่า

Kelly McLain จาก Georgia Southern University กล่าวว่านี่เป็นวิวัฒนาการของมนุษย์มีพื้นฐานการอยู่กันแบบครอบครัวมานาน เป็นวิวัฒนาการอันละเอียดอ่อนของมนุษย์ที่มักรู้สึกคล้ายกันไปโดยธรรมชาติว่า ลูกที่เกิดมาควรหน้าตาเหมือนพ่อมากกว่าแม่ เพื่อสร้างสายใยสัมพันธ์ที่มั่นคง ทำให้พ่ออยากอยู่เคียงข้างและดูแลลูกน้อยได้นั่นเอง

อ้างอิง
Scientific American
The New York Times
Vancouver Sun

PITTAYARAT CH.

พิทยารัตน์ ชูพล: เด็กผู้หญิงผู้รับบทบาทลูกสาวคนเล็ก ที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักเเละความใส่ใจจากคุณแม่ จนมีความใฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งจะมอบความรักอันยิ่งใหญ่แบบนี้ให้ใครสักคนบ้าง

COMMENTS ARE OFF THIS POST