READING

ให้เงินลูกไปโรงเรียน : ลูกวัยประถมควรให้เงินไปโรงเ...

ให้เงินลูกไปโรงเรียน : ลูกวัยประถมควรให้เงินไปโรงเรียนวันละเท่าไหร่? และ 5 เทคนิคปูพื้นฐานแบ่งเงินเป็น 3 ส่วน

ให้เงินลูกไปโรงเรียน

เมื่อลูกโตพอที่จะเอาเงินติดตัวไปโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่หลายคนก็นึกสงสัยว่า ควร ให้เงินลูกไปโรงเรียน วันละเท่าไหร่? เพราะถึงแม้ค่าอาหารกลางวันถูกรวมเข้าไปในค่าเทอมของลูกแล้ว แต่อีกใจก็อยากให้ลูกมีเงินเอาไว้ซื้อขนมที่อยากกินบ้าง

การ ให้เงินลูกไปโรงเรียน  ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ลูกเรียนรู้วิธีการใช่จ่ายเงินซื้อของด้วยตัวเอง แต่ยังช่วยฝึกให้ลูกรู้จักจัดการเงินของตัวเองตั้งแต่ยังเล็ก

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้การ ให้เงินลูกไปโรงเรียน เป็นการสร้างพื้นฐานการจัดการเงินที่ดีให้ลูก เพื่อให้ลูกเติบโตเป็นคนที่มีวินัยทางการเงินที่ดี

ปูพื้นฐานการจัดการการเงินด้วยทฤษฎี 50 /30 /20

50-30-20_web_1

  ทฤษฎีจัดการการเงินให้เป็นส่วนๆ  50 /30 /20 คือการแบ่งเงินออกเป็น ‘ค่าใช้จ่ายสำหรับของจำเป็น-ค่าใช้จ่ายสำหรับของที่อยากได้-เงินสำหรับเก็บออม’ ซึ่งเป็นทฤษฎีการเงินพื้นฐานที่สามารถปรับใช้ได้กับทุกช่วงวัย แต่สำหรับลูกวัยประถมคุณพ่อคุณแม่อาจปรับให้เหลือเพียง 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของที่ลูกอยากได้ และเงินสำหรับเก็บออม เนื่องจากค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวันของลูกๆ เช่น อาหาร อุปกรณ์การเรียน ค่าชุดนักเรียน ยังคงเป็นค่าใช้จ่ายที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรับผิดชอบอยู่

แล้วจะสอนลูกอย่างไรให้ใช้เงินเป็นและรู้จักเก็บออม?

1. เป็นตัวอย่างนักจัดการเงินที่ดีให้ลูก

50-30-20_web_2

ข้อดีของการชอบเลียนแบบพฤติกรรมในเด็กเล็ก คือ คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนทักษะต่างๆ ให้เขาผ่านการแสดงออกหรือการเป็นแบบอย่างที่ดีได้

หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกรู้จักใช้เงินและเก็บออม คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มจากการยกตัวอย่างสถานการณ์ให้ลูกเห็นภาพชัดเจน เช่น พาลูกไปกินข้าวและซื้อของเข้าบ้านโดยมีงบจำกัด เคล็ดลับคือให้คุณพ่อคุณแม่คุยกันเรื่องแผนการใช้เงินในวันนั้นๆ และเปิดโอกาสให้ลูกได้ลองเลือกซื้อของที่คุ้มค่า โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยแนะนำ เพียงเท่านั้นลูกก็จะค่อยๆ ซึมซับพฤติกรรมการใช้เงินอย่างรอบคอบได้ตั้งแต่ยังเล็ก

2. จำลองสถานการณ์ให้ลูกจัดการเงินด้วยตัวเอง

50-30-20_web_3

หากคุณพ่อคุณแม่ปูพื้นฐานเรื่องการจัดการการเงินที่ดีให้ลูกตั้งแต่วัยก่อนเรียน เมื่อลูกเข้าสู่วัยประถม ซึ่งเป็นวัยที่สามารถคิดวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานได้แล้ว แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ให้เงินลูกจำนวนหนึ่ง แล้วพาเขาไปเลือกซื้อของที่อยากได้ โดยกำหนดกติกาว่าของชิ้นนั้นต้องอยู่ในงบที่ลูกมี คุณพ่อคุณแม่จะไม่ช่วยจ่ายส่วนต่างเพิ่ม และปล่อยให้เขาจัดการเงินจำนวนนั้นด้วยตนเอง

การจำลองสถานการณ์แบบนี้จะช่วยให้เขารู้จักการช่างน้ำหนักได้ว่าสิ่งของชิ้นไหนจำเป็น หรือเป็นสิ่งที่เขาอยากได้มากกว่า และจะเริ่มเข้าใจคอนเซ็ปต์ของการแบ่งเงินเป็นสัดส่วน 50/ 30 / 20 ได้มากขึ้น และหากลูกใช้เงินโดยไม่เหลือเก็บเลย คุณพ่อคุณแม่อาจให้คำแนะนำเกี่ยวกับประโยชน์ของการออมเงินเพิ่มเติมให้ลูกได้

3. เปิดบัญชีออมทรัพย์ให้ลูก

50-30-20_web_4

การหยอดเงินใส่กระปุกทุกวันก็เป็นการสร้างวินัยการออมที่ดีสำหรับลูก แต่หากคุณพ่อคุณแม่เปิดบัญชีออมทรัพย์ให้ลูกด้วย จะยิ่งทำให้เขาเห็นถึงจำนวนเงินที่มากขึ้นในทุกๆ ปีได้อย่างชัดเจน ลูกจะเรียนรู้ว่าการออมเงินเงินเล็กๆ น้อยๆ อย่างสม่ำเสมอ สามารถเพิ่มพูนเป็นเงินก้อนได้

นอกจากนี้บัญชีออมทรัพย์สำหรับเด็กก็มักจะมีสิทธิประโยชน์หรือแคมเปญที่จูงใจให้เด็กๆ อยากออมเงินมากขึ้น เช่น ดอกเบี้ยที่จะได้รับทุกเดือน โบนัสพิเศษที่จะได้รับ เมื่อเด็กๆ ถอนเงินออกจากบัญชีน้อย หรือแม้แต่สมุดบัญชีที่มีลวดลายกับการ์ตูนต่างๆ ก็ช่วยให้เด็กๆ อยากฝากเงินมากขึ้น

อ้างอิง
UNFCU
Ramsey

PITTAYARAT CH.

พิทยารัตน์ ชูพล: เด็กผู้หญิงผู้รับบทบาทลูกสาวคนเล็ก ที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักเเละความใส่ใจจากคุณแม่ จนมีความใฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งจะมอบความรักอันยิ่งใหญ่แบบนี้ให้ใครสักคนบ้าง

COMMENTS ARE OFF THIS POST