READING

ลูกผิวไหม้แดด (Sunburn) : อยากเที่ยวหน้าร้อน แต่แด...

ลูกผิวไหม้แดด (Sunburn) : อยากเที่ยวหน้าร้อน แต่แดดทำร้ายลูกมาก ทำอย่างไรดี ?!

ลูกผิวไหม้แดด

ช่วงหน้าร้อน เป็นฤดูแห่งการท่องเที่ยว เพราะเป็นช่วงที่หลายโรงเรียนปิดเทอมพอดี หลายครอบครัวจึงถือโอกาสนี้พาลูกไปท่องเที่ยวและทำกิจกรรมเสริมสร้างประสบการกลางแจ้ง แต่ฤดูร้อนในประเทศไทยไม่เคยปราณีกับเราบ้างเล้ย! เพราะอย่างนั้น การปล่อยให้ลูกทำกิจกรรมกลางแจ้งนานๆ อาจทำให้ ลูกผิวไหม้แดด ได้

ผิวไหม้แดด (Sunburn) เกิดจากการอยู่กลางแดดจ้า ทำให้ผิวได้รับแสง UV โดยตรง แม้จะไม่ได้เป็นเวลานาน หรือเพียง 15 นาที ก็ส่งผลให้เกิดผิวไหม้แดดได้ แต่หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกสัมผัสแดดแรงติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือโดนแดดแรงเป็นประจำ ก็อาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งผิวหนังได้

ดังนั้น ลูกผิวไหม้แดด จึงเป็นสัญญาณเตือนและอาการเริ่มต้นที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม วันนี้เราจะมาบอกวิธีฟื้นฟูผิวไหม้แดด ตลอดจนวิธีการป้องกัน มาฝากกันค่ะ

อาการของผิวไหม้แดด

Sunburn_1

• มีผื่นแดงไหม้ที่ผิวหนัง อาจมีอาการคันร่วมด้วย

• รู้สึกแสบร้อนที่ผิวหนัง

• ผิวแดง บวม พองเป็นตุ่มน้ำ ซึ่งห้ามแกะหรือเจาะออกเด็ดขาด อาจจะทำให้ผิวหนังอักเสบ เกิดการติดเชื้อได้

• ผิวจะค่อยๆ ลอกเป็นแผ่นๆ หลังจากผ่านไปประมาณ 2-3 วัน

• มีสีผิวไม่สม่ำเสมอ

เมื่อ ลูกผิวไหม้แดด ทำยังไงดี

Sunburn_2

หลังจากที่ลูกทำกิจกรรมที่ต้องโดนแดดจัดมานั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยดูแลผิวบางๆ ของลูกได้ด้วยการอาบน้ำเย็นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ หรือใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นวางประคบบริเวณผิวที่โดนแดด ประมาณ 15 นาที และเลือกใช้โลชั่นสำหรับเด็กเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้

นอกจากนี้ หากผิวของลูกเริ่มมีอาการแดงหรือรอยไหม้ อาจใช้ว่านหางจระเข้สด นำมาทาบริเวณที่เป็นรอยไหม้เพื่อเติมความชุ่มชื้นให้กับผิว และลดอาการแสบร้อนได้

วิธีปกป้องผิวลูกก่อนออกแดด

Sunburn_3

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตั้งใจว่าจะพาลูกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรมีวิธีปกป้องผิว ดังนี้

#ครีมกันแดดสำคัญที่สุด หากเด็กๆ จะต้องลุยแดดนานๆ คุณพ่อคุณแม่ควรทาครีมกันแดดให้ลูกก่อนออกแดดประมาณ 30 นาที และควรเลือกครีมกันแดดเด็กที่มี SPF50 PA+++ เพื่อปกป้องผิวลูกน้อยจากแสง UV และทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ควรให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย แต่ปกคลุมร่างกายมิดชิด เพื่อป้องกันและระบายความร้อน แต่ยังคงให้ร่างกายขับเหงื่อได้ดี และถ้าเป็นไปได้ควรสวมหมวก และแว่นกันตากันแดดด้วยนะคะ

#เด็กเล็กต้องเลี่ยง เด็กทารก 0-6 เดือน ควรหลีกเลี่ยงในการเจอแสงแดดจัด เพราะว่าผิวของเด็กมีความบอบบาง และแพ้แดดได้ง่าย

#จิบน้ำบ่อยๆ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกหมั่นจิบน้ำเปล่าบ่อยๆ เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำและการอ่อนเพลียจากแสงแดด

#เลือกเวลาเล่น ในช่วงเวลา 9.00-14.00 น. เป็นช่วงเวลาที่แดดร้อนมากเกินไป หากเป็นไปได้คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงให้ลูกทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเวลานั้นๆ จะดีกว่านะคะ

อ้างอิง
Harvard Health
health.harvard.edu
regagar

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST