แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ จึงมีสำคัญต่อความแข็งแรงของโครงสร้างกระดูก หากร่างกายรับแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด ‘ภาวะกระดูกพรุน’
เมื่อได้กินแคลเซียมเข้าไปจะถูกสะสมไว้ในโครงสร้างกระดูก ช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง จากการศึกษาความหนาแน่นมวลกระดูกในช่วงอายุต่างๆ พบว่า มวลกระดูกจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่วัยเด็ก และมีค่ามวลกระดูกสูงสุด (peak bone mass) ในช่วงอายุ 20-25 ปี
ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวัน แบ่งแยกตามช่วงอายุ
- ช่วงอายุ 0-6 เดือน ควรได้รับแคลเซียม 200 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 7-12 เดือน ควรได้รับแคลเซียม 260 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 1-3 ปี ควรได้รับแคลเซียม 700 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 4-8 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 9-13 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 14-18 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 19-50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม ปริมาณสูงสุดที่แนะนำ 2,500 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 51-70 ปี ควรได้รับแคลเซียม 200 มิลลิกรัม ปริมาณสูงสุดที่แนะนำ 2,000 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 71 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 200 มิลลิกรัม ปริมาณสูงสุดที่แนะนำ 2,000 มิลลิกรัม
COMMENTS ARE OFF THIS POST