รศ.นพ.สุริยเดว กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น และคณะ ร่วมกันศึกษาเก็บข้อมูลของเด็กและเยาวชนอายุ 12 ปี ระหว่างปี 2552 – 2564 ที่สำรวจความรู้สึกของเด็กผ่านตัวชี้วัด 5 มิติ รอบตัว ได้แก่ ครอบครัว, ชุมชน, โรงเรียน, เพื่อน และตัวเอง ด้วยคำถามต่างๆ เช่น สามารถพูดคุยเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวันกับครอบครัวได้หรือไม่ รู้สึกอบอุ่นปลอดภัยเมื่อเข้าบ้านหรือไม่
พบว่า ในช่วงปี 2554 เด็กไทยทั่วประเทศ มีความรู้สึกดีอยู่ในระดับปานกลาง – ดีเท่านั้น และในปี 2562 มีจำนวนเด็กที่อยู่ในระดับดีลดลง และอยู่ในระดับปานกลางมากขึ้น จนกระทั่งปี 2564 เด็กไทยทั่วประเทศอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ยกเว้นในภาคกลางที่อยู่ในระดับวิกฤต (สีแดง) สูงถึง 59.85%
จากข้อมูลดังกล่าวมีข้อสังเกตสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
1. ตลอดระยะเวลาที่เก็บข้อมูลมาทั้งหมด ไม่มีช่วงปีไหนและในภูมิภาคใดเลยที่เด็กไทยจะมีความสุขอยูในระดับดีมาก (สีเขียว)
2 ความรู้สึกของเด็กไทยเริ่มอยู่ในภาวะวิกฤตตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา
3. ทุกระบบนิเวศรอบตัวเด็ก ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว โรงเรียน หรือเพื่อน ทำให้เด็กมีความสุขลดน้อยลงต่อเนื่องทุกปี
4.ในอดีต ครอบครัวเคยเป็นฐานรากที่มั่นคงให้แก่เด็ก แต่พบว่ากลับมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ
รศ.นพ.สุริยเดว ระบุว่า งานวิจัยนี้เป็นเหมือนเสียงสะท้อนว่าเด็กไทยกำลังรู้สึกอย่างไรผ่านตัวแปรสำคัญที่เป็นระบบนิเวศรอบตัวซึ่งกำลังสะท้อนวิกฤตทางสุขภาพจิตของเด็กไทย
COMMENTS ARE OFF THIS POST