READING

เราเป็นพ่อแม่ที่รังแกลูก หรือเปล่า: 5 พฤติกรรมของค...

เราเป็นพ่อแม่ที่รังแกลูก หรือเปล่า: 5 พฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ที่มาจากความหวังดี แต่ผลลัพธ์อาจไม่ดีอย่างที่คิด

พ่อแม่รังแกฉัน

เวลาเห็นเด็กมีพฤติกรรมไม่น่ารัก รวมถึงผู้ใหญ่ที่มีทัศนคติ นิสัยใจคอ และพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อคนอื่น หลายคนก็มักนึกย้อนไปถึงการเลี้ยงดูที่ใครคนนั้นได้รับ คำกล่าวที่ว่า ‘พ่อแม่รังแกฉัน’ จึงไม่ได้หมายความว่าพ่อแม่ที่ใช้กำลังทุบตี และรังแกลูกให้เจ็บช้ำทางกายเท่านั้น

แต่ พ่อแม่รังแกฉัน หลายครั้งหมายถึงการที่พ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกอย่างผิดๆ เช่น การสอนและปลูกฟังนิสัยที่ไม่ดีให้ลูก ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ อาจเพราะความรัก ความหวังดี ที่มากเกินไป รวมถึงความต้องการปกป้องลูกจากโลกภายนอก และพยายามหยิบยื่นสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูก จนหลงลืมเหตุผลและความถูกต้องไปบ้าง

M.O.M จึงอยากลองชวนคุณพ่อคุณแม่มาสำรวจพฤติกรรมของตัวเองกันว่า ความรักความหวังดีที่มีให้ลูกอย่างท่วมท้นของเรานั้น กำลังทำให้เรากลายเป็นพ่อแม่รังแกลูกอยู่หรือเปล่า

parentexpectations_web_1

ด้วยความรักความห่วงใยที่มีต่อลูก จึงไม่อยากให้ลูกออกไปเจอโลกภายนอก ไม่อยากให้ลูกอยู่ห่างจากสายตา ไม่กล้าให้ลูกทำอะไรด้วยตัวเองเพราะกลัวลูกจะเป็นอันตราย พฤติกรรมเช่นนี้เป็นการปิดกั้นโอกาสการเรียนรู้ของลูก อาจส่งผลให้ลูกมีทักษะและพัฒนาการตามวัยช้า และเมื่อลูกเติบโตไปก็จะไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ไม่สามารถทำอะไรด้วยตัวเองได้โดยที่ไม่มีคุณพ่อคุณแม่

parentexpectations_web_2

การตามใจลูกและพยายามทำให้ลูกได้ทุกอย่างที่ต้องการอย่างงง่ายดายโดยที่ลูกไม่เคยต้องพยายามทำอะไรด้วยตัวเอง อาจเป็นการแสดงออกถึงความพร้อมและการมีศักยภาพทางการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ แต่ความจริงแล้ว การตามใจและเอาอกเอาใจลูกมากเกินไป จะทำให้ลูกเป็นเด็กเอาแต่ใจ ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางง ไม่ชอบถูกขัดใจ ไม่รับฟังเหตุผลของคนอื่น รวมถึงอาจทำให้ลูกไม่ได้เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น การช่วยเหลือตัวเองและการปรับตัวเข้าสังคมอีกด้วย

3. บีบบังคับลูกมากเกินไป

parentexpectations_web_3

การตั้งกฎกติกาภายในบ้านเป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากจะช่วยให้ลูกเป็นเด็กมีระเบียบวินัยแล้ว ยังเป็นการลดความขัดแย้งในครอบครัวอีกด้วย แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ใช้กฎกติกาที่ยากต่อการยอมรับมาบีบบังคับและลงโทษลูกเกินความจำเป็น สิ่งที่จะตามมาอาจจไม่ใช่เด็กมีระเบียบวินัยอย่างที่คาดหวัง

ฟิลิปปา เพอร์รี่ (Philippa Perry) นักจิตอายุรเวท กล่าวว่า พ่อแม่ที่เคร่งครัดในกฎระเบียบ มักจะสร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยให้กับเด็ก ทำให้ลูกกลัวการที่จะบอกความจริงกับคุณพ่อคุณแม่เพราะกลัวว่าจะถูกทำโทษ ทำให้เด็กๆ เลือกที่จะโกหกหรือปกปิดเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทำโทษ

4. ชอบเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น

parentexpectations_web_4

คุณพ่อคุณแม่หลายคนมักเอาลูกไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น อาจไม่ได้ตั้งใจหรือทำไปด้วยเจตนาดีที่คิดว่าการเปรียบเทียบจะช่วยให้ลูกรู้สึกมีแรงผลักดัน อยากเป็นและทำให้ได้อย่างคนอื่น

แต่ความจริงแล้วเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น นอกจากจะทำลายความมั่นใจของลูกแล้ว ยังทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ และไม่เป็นที่รักของคุณพ่อคุณแม่ เพราะไม่ว่าจะทำอะไรก็มักจะด้อยกว่าคนอื่นอยู่เสมอ และความรู้สึกเหล่านี้ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำลายสุขภาพจิตของลูกในอนาคตอีกด้วย

5. เลี้ยงลูกแบบปล่อยปะละเลย

parentexpectations_web_5

บางครอบครัวที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำงานจนไม่มีเวลาเลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิด ทำให้ต้องฝากหน้าที่เลี้ยงดูและปลูกฝังนิสัยลูกต้องตกไปอยู่ที่คนอื่น เช่น พี่เลี้ยง ญาติพี่น้อง หรือแม้แต่สถานรับเลี้ยง แล้วพยายามชดเชยให้ลูกด้วยสิ่งของและใช้เงินทองแก้ปัญหาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กทุกคนต้องการความรักความใส่ใจ และการใช้เวลาสร้างความผูกพันกับพ่อแม่มากกว่าคนอื่นเสมอJohn Bowlby นักจิตวิทยาผู้ริเริ่มทำทฤษฎีความผูกพันกล่าวไว้ว่า “เมื่อเด็กไม่สามารถสื่อสารให้คุณแม่รับรู้ เขาก็จะไม่สามารถสื่อสารเรื่องนั้นกับตัวเองได้” นั่นหมายความว่า เด็กที่รู้สึกว่ามีความสัมพันธ์ไม่มั่นคง ก็จะขาดความสามารถในการทำความเข้าใจตัวเองไปด้วย

อ้างอิง
Parentology
Psychologist World
bangkokbiznews

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

COMMENTS ARE OFF THIS POST