READING

ลูกชอบอมข้าว: 5 สาเหตุที่คุณแม่ต้องรู้ว่าทำไมลูกไม...

ลูกชอบอมข้าว: 5 สาเหตุที่คุณแม่ต้องรู้ว่าทำไมลูกไม่ยอมเคี้ยวข้าว

ลูกชอบอมข้าว

ลูกชอบอมข้าว นอกจากจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องเสียเวลาในมื้ออาหารของลูกมากขึ้นแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกน้อยด้วย

ช่องปากของคนเราจะมีเชื้อแบคทีเรียชื่อ Streptococcus mutans  ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีเมื่อมีน้ำตาลในช่องปาก และจะช่วยเร่งให้เกิดอาการฟันผุได้ ดังนั้น หาก ลูกชอบอมข้าว หรืออมอาหารเอาไว้ในช่องปากเป็นเวลานาน ก็จะทำให้ลูกมีโอกาสฟันผุได้ง่าย นอกจากนั้น การอมข้าวยังเกี่ยวข้องกับสมาธิของลูกน้อย เพราะเด็กที่ไม่สามารถควบคุมการเคี้ยวข้าวของตนเองได้ อาจมีปัญหาขาดสมาธิหรือสมาธิสั้นได้อีกด้วย

แล้วทำไมลูกถึงชอบอบข้าว เราชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกมากขึ้น เพื่อให้สามารถรับมือและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง

1. ข้าวมีรสหวาน

dontchewrice_web_1

ข้าวเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เมื่อกินเข้าไปแล้วเอนไซม์ที่อยู่ในน้ำลายจะทำหน้าที่ช่วยย่อยข้าวให้กลายเป็นน้ำตาลมอลโทส (Moltose) ทำให้รู้สึกเด็กรู้สึกว่ายิ่งข้าวมีรสชาติหวาน และยิ่งอมไว้นานก็จะรู้สึกหวานมากขึ้น

2. ลูกกินข้าวอิ่มแล้ว

dontchewrice_web_2

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ใช้วิธีป้อนข้าวลูก ลองสังเกตว่า เมื่อลูกกินข้าวจนอิ่มแล้ว มักจะพยายามส่งสัญญาณด้วยการถ่วงหรือยื้อเวลาด้วยการอมข้าวเอาไว้ในปากให้นานที่สุด เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถป้อนคำถัดไปได้

สิ่งที่คุณแม่ควรทำก็คือไม่บังคับฝืนใจให้ลูกกินต่อ เพราะจะยิ่งส่งเสริมนิสัยชอบอมข้าวเมื่ออิ่มของลูกต่อไป

3. มีสิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจ

dontchewrice_web_3

รอบตัวลูกอาจจะมีสิ่งเร้าหรือสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าอาหารตรงหน้า ไม่ว่าจะเป็นของเล่น โทรศัพท์มือถือ หรือการ์ตูนสนุกๆ ในหน้าจอ นั่นทำให้ลูกสามารถหลุดโฟกัสจากการเคี้ยวข้าวได้

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรจัดพื้นที่ให้ลูกกินข้าวโดยไม่มีสิ่งเร้าหรือรบกวนความสนใจมากเกินไป หรืออาจจะตั้งกฎเล็กๆ เช่น กินข้าวให้เสร็จ ถึงจะได้เป็นเวลาดูการ์ตูน ก็จะช่วยลดพฤติกรรมอมข้าวของลูกได้

4. บรรยากาศการกินอาหารไม่น่าสนใจ

dontchewrice_web_4

นอกจากการเตรียมอาหารที่มีประโยชน์และถูกใจลูกแล้ว  คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างบรรยากาศการกินอาหารให้เหมาะสม ทำให้เวลาอาหารเป็นช่วงเวลาที่ดีและมีความสุขของทุกคนในครอบครัว ไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าการกินอาหารเป็นเรื่องฝืนใจหรือถูกลงโทษ เพราะจะยิ่งส่งเสริมให้ลูกแสดงพฤติกรรมต่อต้านการกินด้วยการอมข้าวได้

5. ลูกกินข้าวไม่ถูกวิธี

dontchewrice_web_5

ปัญหาลูกอมข้าว อาจไม่ได้เกิดจากการขาดสมาธิหรือต่อต้านการกินอาหารของลูกอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจเกิดจากการไม่ได้เรียนรู้วิธี เคี้ยวข้าวอย่างถูกต้อง จนทำให้ลูกไม่กล้ากินหรือกลืนอาหาร ซึ่งเกิดขึ้นได้ในเด็กเล็ก วัย 18–24 เดือนที่เพิ่งเปลี่ยนจากการกินนมหรืออาหารอ่อนมาเป็นอาหารที่แข็งและต้องเคี้ยวมากขึ้น

หน้าที่สำคัญของคุณแม่เพื่อลดสาเหตุการอมข้าวนี้ คือ การสอนวิธีการเคี้ยวข้าวและกลืนอาหารที่ถูกต้องให้กับลูก เพื่อช่วยลดความกลัวในการกินอาหารและเห็นว่าการกินอาหารเป็นเรื่องง่ายและลูกสามารถทำได้อย่างแน่นอน

 

6 สัญญาณที่บอกว่าลูกกำลังจะกลายเป็นเด็กกินยาก
อ้างอิง 
samitivejhospitals
pt.mahidol

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

COMMENTS ARE OFF THIS POST