ยาน้ำเชื่อม หรือยาน้ำ ที่คุณพ่อคุณแม่รู้จักกันดี เพราะแทบจะเป็นยาชนิดเดียวที่เด็กเล็กยอมรับประทานได้ง่ายกว่ายาชนิดอื่น
แต่ถึงอย่างนั้น ก็เคยมีข่าวและการพูดถึงเกี่ยวกับอันตรายของการ ให้ลูกกินยาน้ำเชื่อม เช่น ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน จนสร้างความไม่สบายใจให้กับคุณพ่อคุณแม่จนไม่กล้า ให้ลูกกินยาน้ำเชื่อม เมื่อเจ็บป่วย
แต่ความจริงแล้ว ถึงแม้ยาน้ำเชื่อมจะไม่ใช่ยาอันตรายสำหรับเด็ก แต่ก็มีสารบางอย่างที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในยา ได้แก่ เอทิลีนไกลคอล ไดเอทิลีนไกลคอล และเอทิลีนไกลคอล บิวทิว อีเทอร์ แม้จะนำมาใช้ในปริมาณเล็กน้อยก็ก่อให้ภาวะไตวายเฉียบพลันในเด็กได้
ข้อดีของยาน้ำเชื่อมที่ปลอดภับและผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) มีหลายประการ ดังนี้
1. รูปแบบน้ำ ทำให้รับประทานง่าย ไม่เสี่ยงติดคอ
2. มีการแต่งกลิ่น และรสชาติ ช่วยให้ลูกรับประทานยาได้ง่ายขึ้น
3. มีส่วนผสมของน้ำตาลซูโครส ช่วยเพิ่มความสดชื่นและความกะปรี้กะเปร่า
ดังนั้น ยาน้ำเชื่อมไม่ได้เป็นอันตรายต่อลูกน้อย แต่เป็นสารบางอย่างที่ผู้ผลิตบางรายใส่เข้ามาต่างหากที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ และศึกษาเทคนิค เลือกยาน้ำให้ปลอดภัย สำหรับลูกน้อย ดังนี้
1. เลือกยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ
หากต้องทำการเลือกซื้อยาน้ำให้ลูกรับประทาน คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อจากร้านขายยาที่น่าเชื่อถือ มีเภสัชกรที่ให้คำปรึกษา และเลือกยาที่มียี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าที่เป็นที่รู้จัก ชัดเจน มีเครื่องหมายรับรองว่าผ่านการตรวจสอบจากองค์การอาหารและยา
2. อ่านฉลากยาให้ถี่ถ้วน
ยาที่ดีควรมีรายละเอียดบอกอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นตัวยา วิธีการใช้ ปริมาณและความถี่ในการใช้ยา รวมถึงวิธีเก็บรักษายาให้คงสภาพ และคุณพ่อคุณแม่ควรอ่านรายละเอียดบนฉลากยาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบด้วยว่าในตัวยามีสารต้องห้ามเจือปนอยู่หรือไม่ ได้แก่ เอทิลีนไกลคอล ไดเอทิลีนไกลคอล และเอทิลีนไกลคอล บิวทิว อีเทอร์ แม้จะผสมอยู่ในปริมาณเล็กน้อยไม่ถึง 1% ก็ควรเลี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับลูกได้
3. ใช้ยาเฉพาะตอนลูกป่วยแล้วเท่านั้น
นอกจากการเลือกใช้ยาให้ถูกวัตถุประสงค์แล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจว่ายามีไว้เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยให้ดีขึ้น ไม่ใช่เพื่อป้องกัน
ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้ยาน้ำเชื่อม เมื่อลูกเริ่มมีอาการป่วยเท่านั้น เพราะการกินยาพร่ำเพื่อ หรือความเชื่อที่ให้ลูกกินยาไว้ก่อนที่จะป่วยจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะไตวาย หรือทำให้ลูกเกิดอาการท้องอืด ไม่สบายตัวได้
4. ใช้ยาตามแพทย์สั่ง
หากคุณพ่อคุณแม่ไม่มั่นใจในการซื้อยาให้ลูกรับประทาน หรือไม่แน่ใจว่ายาที่เลือกซื้อจะมีสารที่เป็นอันตรายเป็นส่วนประกอบหรือไม่ เพื่อความแน่ใจ ให้ลองขอคำแนะนำจากคุณหมอ เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ
COMMENTS ARE OFF THIS POST