READING

ลูกคนกลาง (Wednesday’s child) ไม่ได้เกิดเป็น...

ลูกคนกลาง (Wednesday’s child) ไม่ได้เกิดเป็นพี่คนโตหรือน้องคนเล็กแล้วจะมีปัญหาจริงเหรอ?

ลูกคนกลาง

เรามักคุ้นเคยกับคำกล่าวที่ว่า ลูกคนโต จะได้เป็นลูกคนโปรดที่ได้รับสิทธิพิเศษทุกอย่างในครอบครัว ส่วนลูกคนสุดท้องก็มีแนวโน้มที่จะถูกตามใจ ปกป้อง และทะนุถนอมมากเกินไป ส่วนลูกคนกลางกลับไม่มีบทบาทที่ชัดเจนในครอบครัว ถูกมองว่าไม่ได้รับความรักเท่าลูกคนอื่น จนเกิดเป็นคำเรียก middle child syndrome หรือโรคลูกคนกลาง

แม้ว่าจะไม่ใช่กลุ่มอาการทางคลินิก แต่การวิจัยชี้ให้เห็นว่าลำดับการเกิดมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของเด็ก ดังที่ Frank Sulloway นักจิตวิทยา กล่าวว่า ‘ลำดับการเกิดส่งผลต่อบทบาทและบุคลิกภาพของเด็กๆ สิ่งสำคัญก็คือคุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยให้ ลูกคนกลาง ได้ค้นพบความสำคัญของตัวเองด้วย

ลำดับการเกิดส่งผลต่อบุคลิกภาพของเด็กได้อย่างไร

Wednesdayschild_web_1

Wednesday Child หรือ Middle Child Syndrome คือปรากฏการณ์ของลูกคนกลางที่มักจะรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่เหมือนลูกคนอื่น รวมถึงรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่รัก และรู้สึกแปลกแยกจากพี่น้อง ซึ่งมีสาเหตุมาจากลำดับการเกิด (Order of Birth)

Alfred Adler นักจิตบำบัดชาวออสเตรียน อธิบายเรื่องนี้เอาไว้ว่า พ่อแม่มักปฏิบัติต่อลูกแต่ละคนไม่เหมือนกัน เนื่องจากพ่อแม่ได้ผ่านความตื่นเต้นจากการมีลูกคนโตไปแล้ว ทำให้ลูกคนกลางมีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจจากพ่อแม่น้อยลงทันทีที่ครอบครัวมีลูกคนเล็ก พ่อแม่ก็มักจะให้ความใส่ใจกับลูกคนเล็กมากกว่า

การเป็น ลูกคนกลาง ไม่ได้ทำให้เป็น ‘เด็กมีปัญหา’

Wednesdayschild_web_2

คนส่วนมากคิดว่า การเป็นลูกคนกลาง จะไม่ได้รับความรักความใส่ใจจากคุณพ่อคุณแม่เท่าที่ควร Alfred Adler ยังอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า ลูกคนกลางส่วนใหญ่มีบุคลิกที่มีความทะเยอทะยานสูง มีความอดทน และไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค แต่ในด้านความรู้สึก เขามักรู้สึกว่าตัวเองถูกมองข้ามอยู่เสมอ ทำให้บางครั้งมีนิสัยดื้อรั้นและรู้สึกอิจฉาพี่น้องของตัวเอง

Suzanne Degges-White นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเทิร์นอิลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า โดยปกติแล้วเด็กแต่ละคนก็มักได้รับการปฏิบัติจากพ่อแม่แตกต่างกันอยู่แล้ว

ลูกคนกลางมีแนวโน้มที่จะเป็นนักแก้ปัญหา

Wednesdayschild_web_3

ลูกคนกลาง มีแนวโน้มเป็นนักแก้ปัญหาที่ดี เนื่องจากการเป็นคนที่อยู่กลางระหว่างพี่น้อง สามารถเข้าใจความรู้สึกของคนเป็นพี่ และเข้าถึงจิตใจของคนเป็นน้องได้ดี ทำให้ลูกคนกลางมักจะมีทักษะการเจรจาต่อรอง และมีความเห็นอกเห็นใจสูง

จากการศึกษาพบว่า 85% ของลูกคนกลาง มักเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากกว่าลูกคนโต และมักมีความมั่นคงทางอารมณ์มากที่สุดในจำนวนบรรดาพี่น้อง

พ่อแม่ต้องปฏิบัติอย่างเท่าเทียม

Wednesdayschild_web_4

พญ. วรรณพักตร์ วิวัฒนวงศา กุมารแพทย์ จิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเวชธานี ก็บอกเช่นกันว่า ลำดับการเกิดมีผลต่อความรู้สึกของลูกคนกลาง เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่มักทุ่มเวลาให้กับลูกคนเล็ก จนอาจไม่มีเวลาดูแลลูกคนกลาง ในมุมของลูกคนกลางจึงรู้สึกว่า ตนเองอยู่นอกสายของพ่อแม่ ทำให้เกิดความรู้สึกไม่เท่าเทียม และน้อยใจว่าไม่ได้รับความรักจากคุณพ่อคุณแม่

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นดูแลลูกทุกคนอย่างใกล้ชิด มีเวลาให้ลูกทุกคนอย่างเท่าเทียม เช่น มีเวลากับลูกแต่ละคน (One On One Time) เพื่อให้ลูกทุกคนมีโอกาสได้ใช้เวลาคุณภาพกับคุณพ่อคุณแม่แบบส่วนตัวบ้าง

อ้างอิง
Daily Mail Online
healthline
choosingtherapy
bangkokbiznews

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

COMMENTS ARE OFF THIS POST