READING

NEWS UPDATE: วิจัยพบ ประเทศรายได้ต่ำมีปัญหา ‘...

NEWS UPDATE: วิจัยพบ ประเทศรายได้ต่ำมีปัญหา ‘เด็กเตี้ย’

ม.มหิดล นักวิจัยกว่า 200 ประเทศ เก็บข้อมูลเด็กกว่า 70 ล้านคนต่อเนื่อง 30 ปี พบว่าปัญหาของประเทศรายได้ต่ำมีปัญหา ‘เด็กเตี้ย’ มากกว่าเด็กในประเทศที่พัฒนาแล้ว เด็กไทยมีส่วนสูงมากขึ้น แต่มีภาวะอ้วนมากขึ้นเช่นกัน

ในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ทั่วโลกต้องประสบกับปัญหาจำนวนผู้ป่วยโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนต้องสูญเสียทรัพยากรเพื่อการดูแล และรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมหาศาล และกลายเป็นโจทย์สำคัญที่ท้าทายนักวิจัยจากทั่วโลก สู่การค้นหาหนทางเยียวยาปัญหาที่คอยคุกคามประชากรโลกดังกล่าว

ศ.ดร. นพ.วิชัย เอกพลากร อาจารย์แพทย์นักวิจัยประจำภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน (Imperial College London – ICL) และนักวิจัยทั่วโลกเกือบ 200 ประเทศ ติดตามการเจริญเติบโตในเรื่องความสูงและดัชนีมวลกายของกลุ่มตัวอย่างเด็กวัยเรียน-วัยรุ่น อายุประมาณ 5-19 ปีจำนวนกว่า 70 ล้านคนอย่างต่อเนื่องที่แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มเด็กที่อาศัยอยู่ในเมืองมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่าในเด็กในชนบทเริ่มลดน้อยลง

.

นั่นคือเด็กมีความสูงและอ้วนในเมืองและชนบทใกล้เคียงกัน เนื่องจากลักษณะชีวิตความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของคนในเมือง และชนบทเริ่มใกล้เคียงกัน

จากการติดตามเก็บข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2533 – 2563 สะท้อนให้เห็นปัญหาการเจริญเติบโตของเด็กทั่วโลกว่า มีความสอดคล้องกับรายได้ของประชากร โดยในประเทศที่มีรายได้ต่ำมักพบปัญหาเด็กเตี้ยมากกว่าประเทศที่มีรายได้สูง สาเหตุสำคัญจากการเข้าถึงคุณภาพของอาหาร

ในขณะที่เมื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างในเมืองและในชนบท พบว่าเด็กในเมืองมีแนวโน้มอยู่ในภาวะอ้วนมากกว่าเด็กในชนบท เนื่องจากส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ขาดการออกกำลังกาย สาเหตุเพราะต้องอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด รวมทั้งต้องใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบ

สำหรับประเทศไทย ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง แม้พบว่าในปัจจุบันเด็กไทยสูงมากขึ้น จากนโยบายส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียนของชาติที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังพบความเสี่ยงต่อการมีภาวะอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรค NCDs เพิ่มมากขึ้น จากการดำเนินชีวิตที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอในเรื่องโภชนาการ และพึ่งพาเทคโนโลยีตามกระแสโลกจนขาดการเคลื่อนไหวทางกาย

ศ.ดร. นพ.วิชัย มองว่า การส่งเสริมการออกกำลังกาย และการส่งเสริมโภชนาการสำหรับเด็กไทยในวัยเรียนยังคงเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งที่ผ่านมาพบเด็กไทยในวัยเรียนมีการออกกำลังกาย และดื่มนมไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตตามวัย

นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายของรัฐในการขจัดต้นตอปัญหาก่อโรค NCDs จากการเฝ้าติดตามการเจริญเติบโตของเด็กไทยควรทำอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องเพื่อลดช่องว่างในระดับชุมชน

อ้างอิง
news.ch7

Supinya R.

ชอบอ่านนิยายสยองขวัญ ชอบเขียนไดอารี่ และเป็นคุณแม่จำเป็นในบางเวลา :-)

COMMENTS ARE OFF THIS POST