READING

คุณแม่ขี้กลัว : ชวนคุณแม่เช็คลิสต์อาการ Panic Diso...

คุณแม่ขี้กลัว : ชวนคุณแม่เช็คลิสต์อาการ Panic Disorder และ 4 ผลกระทบต่อลูก

คุณแม่ขี้กลัว

Panic Disorder หรือโรคตื่นตระหนก เป็นอีกหนึ่งอาการทางจิตเภทที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังจากมีลูก

อาการของโรค จะทำให้ คุณแม่ขี้กลัว มีความกังวล ตื่นตระหนก และควบคุมตัวเองไม่ได้ สาเหตุของโรค มีได้หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นจากพันธุกรรม การทำงานที่ผิดปกติของระบบประสาท หรือจากความเครียด โดยจะมีอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนี้

– หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ ตัวชา

– เหงื่อออกเยอะกว่าปกติ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ

– ท้องไส้ปั่นป่วน

– ควบคุมตัวเองไม่ได้ ตกอยู่ในสภาวะหวาดกลัว

– ระแวง กลัวว่าจะกลับมามีอาการอีกครั้ง หรือกลัวที่จะเสียการควบคุม

– มีความคิดวิตกกังวลหรือความคิดที่ไม่สมเหตุสมผล

– เกิดความคิดในแง่ลบ คิดว่าเรื่องร้ายๆ หรือความตายจะเกิดกับตัวเอง

ผลกระทบต่อลูกเมื่อถูกเลี้ยงโดย คุณแม่ขี้กลัว

1. การถ่ายทอดความกลัวจากแม่สู่ลูก

PanicDisorder_web_1

จากบทวิจัยของ American  Academy of Child & Adolescent Psychiatry เผยว่า เด็กที่เติบโตมากับครอบครัวที่ผู้ปกครองคนใดคนหนึ่งมีอาการทางจิตจะมีความเสี่ยงที่จะแสดงอาการเหล่านั้นออกมามากกว่าเด็กคนอื่นๆ และความเสี่ยงนั้นจะยิ่งทวีคูณหากคุณพ่อและคุณแม่มีอาการด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้น อาการตื่นตระหนกของคุณแม่ก็อาจจะถูกส่งต่อมายังลูกๆ ได้ ซึ่งหากไม่ได้การรักษาที่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การขาดปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น หรือโรคซึมเศร้าได้

2. ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของลูก

PanicDisorder_web_2

ความตื่นตระหนก วิตกกังวล และความกลัวของคุณแม่ะยังส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงดูลูกได้อีกด้วย เช่นการเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่ให้ลูกทำอะไรด้วยตัวเอง ในที่สุดแล้วจะทำให้ลูกเรียนรู้ช้า หรือมีโอกาสเรียนรู้น้อยกว่าเด็กคนอื่นๆ

3. ลูกจะทำตัวห่างเหินกับแม่

PanicDisorder_web_3

คุณแม่ที่มีอาการตื่นตระหนกมักจะห้ามลูกไม่ให้ทำอะไรที่คิดว่ามีความเสี่ยง เพราะอาจจะเกิดเรื่องแย่ๆ กับลูก ซึ่งบางเรื่องอาจจะเกิดจากความคิดที่ไม่สมเหตุสมผลอันเนื่องมาจากอาการของโรคตื่นตระหนก และเมื่อเด็กๆ โดนห้ามหลายครั้ง พวกเขาก็จะเริ่มรู้สึกอึดอัดและไม่อยากอยู่กับคุณแม่ เพราะขาดความอิสระ และจะมองหาคนที่สามารถมอบความอิสระนั้นให้กับพวกเขาได้

4. ลูกขาดความมั่นใจ

PanicDisorder_web_4

การที่คุณแม่ห้ามลูกไม่ให้ทำอะไรด้วยตัวเอง หรือไม่ให้ลูกได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ เพราะกลัวถึงผลกระทบที่จะตามมานั้นอาจส่งผลให้ลูกคิดว่าคุณแม่ไม่ได้มั่นใจในตัวเขาและคิดว่าตัวเองอ่อนแอและไร้ความสามารถ ซึ่งความรู้สึกในแง่ลบเหล่านี้สามารถสะสมและทำให้เด็กๆ รู้สึกขาดความมั่นใจในตัวเอง และไม่กล้าที่จะลองทำสิ่งใหม่ๆ ไปในที่สุด

วิธีการบรรเทาอาการ panic disorder ที่คุณสามารถทำเองได้ที่บ้าน

1. การหายใจเข้าลึกๆ

PanicDisorder_web_5

วิธีที่เรียบง่ายที่สุดในการบรรเทาความตื่นตระหนกที่คุณแม่สามารถทำได้ก็คือการหายใจเข้าลึกๆ โดยวิธีการนี้จะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินซึ่งจะช่วยปรับอารมณ์และความตึงเครียดได้ โดยเริ่มจากการหายใจเข้าลึกๆ ด้วยจมูกอย่างช้าๆ และค่อยหายใจออกทางปาก

2. โฟกัสสิ่งใกล้ตัว

PanicDisorder_web_6

​หากคุณแม่รู้สึกว่ากำลังมีอาการตื่นตระหนกแล้ว ให้ลองพยายามเปลี่ยนความสนใจไปที่สิ่งอื่น เช่น ลองมองหาสิ่งของใกล้ตัว แล้วงพินิจพิเคราะห์ถึงรายละเอียดของสิ่งนั้น ว่ามันทำมาจากอะไร มีสีอะไร น้ำหนักเยอะหรือเบา การทำแบบนี้จะทำให้คุณแม่หันมาโฟกัสสิ่งใหม่ และลดอาการตื่นตระหนกของตัวเองได้

อ้างอิง
ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย
aacap.org
ashleycomegys.com
MedPark Hospital
prudential.co.th

PITTAYARAT CH.

พิทยารัตน์ ชูพล: เด็กผู้หญิงผู้รับบทบาทลูกสาวคนเล็ก ที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักเเละความใส่ใจจากคุณแม่ จนมีความใฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งจะมอบความรักอันยิ่งใหญ่แบบนี้ให้ใครสักคนบ้าง

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST