READING

ลูกนอนเยอะ: 5 ผลกระทบ เมื่อลูกวัยทารกนอนมากเกินไป...

ลูกนอนเยอะ: 5 ผลกระทบ เมื่อลูกวัยทารกนอนมากเกินไป

ลูกนอนเยอะ

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจคิดว่า หาก ลูกนอนเยอะ แปลว่าลูกเป็นเด็กเลี้ยงง่าย และการให้ลูกนอนนานๆ จะทำให้ลูกได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

แต่ความจริงแล้ว ทารกช่วงแรกเกิด มักจะนอนหลับไม่เป็นเวลา ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามปรับตัว เปลี่ยนเวลาเข้านอนของตัวเอง คอยอุ้มกล่อมเพื่อให้ลูกนอนหลับได้ และบางทีก็เผลอคิดไปว่า ลูกเป็นเด็กเลี้ยงยาก เพราะนอนหลับได้ยาก ทั้งที่การนอนหลับยากของทารก เกิดจากการที่เด็กแรกเกิดยังไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมภายนอก ทารกส่วนมากจะนอนหลับได้เพราะเคยชินกับการได้ยินเสียงหัวใจของแม่เต้นตลอดเวลาเหมือนตอนอยู่ในท้อง ดังนั้น การที่ทารกนอนหลับยาก จึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป

ตรงกันข้าม การที่ ลูกนอนเยอะ หรือนอนหลับง่ายเกินไป กลับไม่ใช่เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะการนอนหลับมากเกินไปอาจยังส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของลูกได้ ดังต่อไปนี้

1. ลูกโตช้า

SleepTooMuch_web_1

อาการนอนเยอะมักมาพร้อมกับอาการซึมและเบื่ออาหาร ลูกที่นอนเยอะจะมีอาการไม่อยากกินนม เบื่อน้ำนมแม่ ทำให้ลูกได้รับนมแม่น้อยลงและได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายตามไปด้วย ซึ่งการได้รับสารอาหารน้อย ส่งผลต่อระบบต่างๆ รวมถึงทำให้การทำงานของการหลั่ง Growth hormone ในทารกน้อยลง ก็ทำให้ลูกมีการเจริญเติบโตช้าลงได้

2. ภูมิคุ้มกันต่ำ

SleepTooMuch_web_2

จากอาการซึมและเบื่ออาหาร นอกจากจะทำให้ร่างกายเติบโตช้าแล้ว การได้รับนมแม่น้อยเกินไป ยังทำให้ลูกได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างภูมิคุ้มกันจากน้ำนมแม่ได้น้อยลง เมื่อภูมิคุ้มกันต่ำ ลูกก็จะป่วยง่าย และมีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงเท่าที่ควรอีกด้วย

3. พัฒนาการช้าลง

SleepTooMuch_web_3

ต่อเนื่องจากสองข้อแรก การนอนมากเกินไป ทำให้ลูกไม่หิว ไม่อยากอยากกินนมแม่ การได้รับน้ำนมแม่น้อยเกินไป ทำให้ลูกมีความเสี่ยงด้านพัฒนาการ เพระน้ำนมแม่สำคัญต่อพัฒนาการทางสมอง และสำคัญต่อการสร้างเส้นประสาทของสมอง เมื่อได้รับน้ำนมแม่หรือสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ทำให้ลูกเสี่ยงที่จะมีพัฒนาการช้า มีอาการซึม ไม่ร่าเริง ไม่อยากเรียนรู้ หากเกิดขึ้นเป็นเวลานาน คุณพ่อคุณแม่อาจต้องคิดเรื่องพาลูกไปพบแพทย์แล้วล่ะค่ะ

4. ภาวะขาดน้ำ

SleepTooMuch_web_4

การปล่อยให้ลูกนอนหลับนานเกินไป อาจทำให้ลูกเกิดภาวะขาดน้ำซึ่งเป็นอันตรายกับทารก อาจเกิดการช็อกเพราะขาดน้ำได้ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตภาวะนี้ได้จากปริมาณปัสสาวะของลูกที่น้อยลง จำนวนผ้าอ้อมที่คุณแม่ต้องเปลี่ยนน้อยลง สีของปัสสาวะที่เข้มขึ้น รวมถึงอาการปากแห้งผิวแห้ง มีอาการหายใจหอบถี่

5. ซึมกว่าเด็กทั่วไป

SleepTooMuch_web_5

การปล่อยให้ลูกนอนมาเกินไปทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน และระบบการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ผิดปกติ โดยเฉพาะการหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนลดอาการเศร้า และฮอร์โมนเอนดอร์ฟินหรือฮอร์โมนแห่งความสุข ที่จะมีการหลั่งได้น้อยลง ลูกจะเกิดอาการซึม ขาดความกระตือรือร้น ไม่ร่าเริง ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการในอนาคต ตั้งแต่เรื่องสุขภาพจิตและทักษะการสื่อสาร จนไปถึงทักษะการเข้าสังคมของลูกด้วย

อ้างอิง
Maerakluke
Momjunction
What to expect

PITTAYARAT CH.

พิทยารัตน์ ชูพล: เด็กผู้หญิงผู้รับบทบาทลูกสาวคนเล็ก ที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักเเละความใส่ใจจากคุณแม่ จนมีความใฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งจะมอบความรักอันยิ่งใหญ่แบบนี้ให้ใครสักคนบ้าง

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST