READING

ของเล่นที่ทำให้พัฒนาการถดถอย: เช็กลิสต์ 5 ของเล่น ...

ของเล่นที่ทำให้พัฒนาการถดถอย: เช็กลิสต์ 5 ของเล่น ที่ยิ่งเล่นยิ่งเครียด!

ของเล่นที่ทำให้พัฒนาการถดถอย

คุณพ่อคุณแม่ส่วนมากมักเลือกซื้อของเล่นที่เน้นการเน้นส่งเสริมพัฒนาการ ให้กับลูกเป็นสำคัญ โดยบางครั้งอาจเลือกจากของเล่นที่ยาก ซับซ้อน และต้องใช้ความพยายามในการเล่นอย่างมาก โดยไม่ทันคิดว่า ของเล่นบางอย่าง อาจเป็น ของเล่นที่ทำให้พัฒนาการถดถอย เพราะทำให้ลูกรู้สึกเครียดและไม่ดีต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของลูกก็เป็นได้

เด็กในช่วงอายุ 1-10 ขวบ เป็นวัยที่สมองและร่างกายกำลังเติบโต และต้องการเรียนรู้เพื่อสร้างพัฒนาการที่ดี ของเล่นจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นปลุกทักษะการเรียนรู้ของลูกได้เป็นอย่างดี คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความรู้จัก ของเล่นที่ทำให้พัฒนาการถดถอย และเข้าใจว่าของเล่นประเภทไหนที่เหมาะหรือไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้ตามช่วงวัยของลูก

เพราะของเล่นที่ไม่เหมาะกับลูก อาจไม่ใช่ของเล่นที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเท่านั้น แต่ของเล่นที่ไม่ได้เสริมสร้างภาวะอารมณ์และการเรียนรู้ที่ดีของลูกก็เป็น ของเล่นที่ทำให้พัฒนาการถดถอย ได้เช่นกัน

1. ของเล่นที่มีปุ่มกดอัตโนมัติหรือรีโมตควบคุบทางไกล

สำหรับเด็กเล็ก ของเล่นประเภทที่เต็มไปด้วยปุ่มกดอัตโนมัติ เช่น หุ่นยนต์ หรือรถบังคับ แม้ว่าจะสร้างความสนุกสนานให้ลูกน้อยได้ แต่ก็เป็นของเล่นที่ไม่เสริมสร้างทักษะการประสานงานและการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ของลูก เพราะเด็กเล็กเป็นวัยที่ควรได้เล่นของเล่นที่ใช้กล้ามเนื้อและร่างกายในการเล่น เพื่อเสริมทักษะการประสานงานทางร่างกายและความคิดต่อไปค่ะ

2. แท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือ

เพราะแท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือนั้นเต็มไปด้วยภาพและเสียงที่ควบคุมไม่ได้ รวมถึงเกมต่างๆ ที่ช่วยฝึกสมองและประลองทักษะของผู่ใหญ่ แต่เกมเหล่านั้นอาจยังไม่เหมาะกับกระบวนการคิด และพัฒนาการทางสมองของลูก และยิ่งไปกว่านั้นแท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือประเภทยังมีแสงจากหน้าจอ ย่อมไม่ส่งผลดีต่อสายตาของลูกอีกด้วย

3. ปืนปลอม ดาบปลอม

งานวิจัยส่วนใหญ่พบว่าอาวุธของเล่น เช่น ปืนปลอม ดาบปลอม หรืออาวุธอื่นๆ อาจมีส่วนส่งเสริมพฤติกรรมก้าวร้าว และนิสัยใช้ความรุนแรงให้ลูกได้โดยไม่รู้ตัว

นอกจากนี้ยังรวมถึงของเล่นที่ใช้ภาพการ์ตูนที่มีใบหน้าโกรธ เกลียด  เคียดแค้น ก็ไม่เหมาะกับเด็กเล็กเช่นกันนะคะ

4. ของเล่นที่มีเสียงพูดได้

พ่อแม่อาจมองว่าการให้ลูกเล่นกับของเล่นที่พูดได้เป็นเรื่องที่ดี ลูกจะได้ฝึกการฟังและโต้ตอบ รวมถึงเคยชินกับโลกแห่งเทคโนโลยี แต่แท้จริงแล้วความเข้าใจในโลกเทคโนโลยีและการสื่อสารย่อมทำได้เมื่อลูกโตขึ้นไปอีกระดับ สำหรับเด็กเล็กที่อยู่ในวัยแห่งการเล่น ของเล่นพูดได้อาจไม่เหมาะต่อการเสริมพัฒนาการเท่าที่ควร เพราะลูกจะไม่ได้เรียนรู้การสื่อสารโต้ตอบจากสถานการณ์จริง ไม่ได้ฝึกทักษะทางภาษา และขาดการสร้างสัมพันธ์กับคนอื่นอีกด้วย

5. ของเล่นที่เสียงดัง

ของเล่นที่เสียงดังเกินไป หรือของเล่นที่มีเสียงน่ากลัว ถือเป็นของเล่นที่ไม่เหมาะกับเด็กเล็กที่สุด เพราะเสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้เด็กรู้สึกตกใจกลัว จนกลายเป็นความโมโหและรำคาญได้ นอกจากนั้น หากของเล่นมีเสียงน่ากลัว ยังทำให้ลูกรู้สึกหวาดระแวง วิตกกังวล และไม่ไว้วางใจของเล่นชิ้นนั้น นานไปอาจทำให้ลูกมีปัญหาทางอารมณ์และการจัดการทางอารมณ์ในอนาคตต่อไปได้

อ่านบทความ: ลูกไม่ยอมเล่นของเล่นที่ซื้อให้: เพราะอะไรกันนะ!?
อ้างอิง
Integrated Learning Strategies
India Parenting

PITTAYARAT CH.

พิทยารัตน์ ชูพล: เด็กผู้หญิงผู้รับบทบาทลูกสาวคนเล็ก ที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักเเละความใส่ใจจากคุณแม่ จนมีความใฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งจะมอบความรักอันยิ่งใหญ่แบบนี้ให้ใครสักคนบ้าง

COMMENTS ARE OFF THIS POST