วารสาร Preventive Medicine Reports รายงานว่า เด็กและวัยรุ่นที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมือถือนานๆ จะอยากเรียนรู้น้อยลง ควบคุมตัวเองได้น้อยลง มีอารมณ์ไม่คงที่ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการวิตกกังวลและซึมเศร้ามากขึ้น
นักวิจัยพบว่า เด็กอายุ 14-17 ปี มีความเสี่ยงมากที่จะมีอาการเหล่านี้ แต่ในเด็กเล็กและเด็กวัยหัดเดินสมองยังคงพัฒนาได้ดี ไม่มีอะไรที่ต้องเป็นห่วง
การศึกษานี้ยังพบว่า เด็กวัยเรียนที่ใช้เวลากับหน้าจอบ่อย จะทำให้เด็กควบคุมอารมณ์ของตัวเองไม่ค่อยได้
ร้อยละ 9 ของเด็กอายุ 11-13 ปี ที่ใช้เวลากับหน้าจอหนึ่งชั่วโมงต่อวัน จะเริ่มไม่อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และยังมีเด็กที่ใช้เวลากับหน้าจอมากกว่า 7 ชั่วโมงขึ้นไป เพิ่มขึ้นมาอีกร้อยละ 22.6
จีน ทเวนจ์ (Jean Twenge) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน และผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการใช้สมาร์ตโฟน แนะนำให้เด็กเล่นโทรศัพท์มือถือไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง
COMMENTS ARE OFF THIS POST