READING

ลูกไม่ฟังทำยังไงดี!? 6 วิธีรับมือกับลูกวัยหัดเดินท...

ลูกไม่ฟังทำยังไงดี!? 6 วิธีรับมือกับลูกวัยหัดเดินที่ไม่ยอมฟังใคร

วัยหัดเดิน

หน้าที่ของคนเป็นพ่อแม่ ถือเป็นงานที่ท้าทายความสามารถไม่เว้นแต่ละวัน เพราะคนเป็นพ่อแม่ต้องรู้จักเรียนรู้และปรับตัวให้ทันการเติบโตและพัฒนาการของลูก

ลูกที่ว่าเลี้ยงยากเข้าใจยากตอนที่เป็นทารก พอโตขึ้นในวัยหัดเดิน ถึงแม้จะสามารถสื่อสารกันเข้าใจมากขึ้น แต่ธรรมชาติของช่วงวัยที่กำลังอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง ตื่นเต้น และพยายามเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ทำให้คุณพ่อคุณแม่ทั้งตื่นเต้นกับการเรียนรู้ของลูก แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคอยหาทางรับมือและกุมขมับให้กับความดื้อรั้นที่เต็มเปี่ยมของลูกไปด้วย

เพื่อไม่ให้การเรียนรู้ของลูกสร้างความปวดหัวให้คุณพ่อคุณแม่มากเกินไป เรามีวิธีดีๆ ในการรับมือกับสถานการณ์ที่ลูกวัยหัดเดินไม่ยอมเชื่อฟังกันบ้างเลยมาฝากค่ะ

1. เรียกชื่อลูกด้วยน้ำเสียงเรียบๆ

วัยหัดเดิน

เมื่อไหร่ที่ลูกเริ่มแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ให้คุณพ่อคุณแม่เรียกชื่อลูกด้วยน้ำเสียงเรียบๆ แทนที่จะตะโกนหรือเสียงดังโวยวาย

เพราะการเรียกชื่อลูกด้วยน้ำเสียงเรียบๆ เป็นการดึงความสนใจของลูกให้หันมาให้ความสนใจกับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะบอกต่อไปได้ แต่ถ้าพยายามหยุดลูกด้วยการตะโกน หรือใช้เสียงดัง มีน้ำเสียงหงุดหงิด หรือ เขาอาจซึมซับจนนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวได้

2. ย่อตัวพูดคุยในระดับสายตาของลูก

วัยหัดเดิน

เวลาคุยกับลูก ไม่ว่าจะในสถานการณ์ไหนก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรใช้วิธีย่อตัวลงเพื่อพูดคุยในระดับสายตาของลูก การทำลักษณะนี้จะทำให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่นั้นตั้งใจพูดกับเขาและให้ความสนใจเขาอยู่ ลูกก็จะหยุดและสนใจฟังได้ดีกว่าคุณพ่อคุณแม่พูดมาจากที่ไกลๆ หรือยืนพูดแล้วปล่อยให้ลูกต้องแหงนหน้าฟังนะคะ

3. มองตาลูกขณะคุย

วัยหัดเดิน

นอกจากจะย่อตัวไปคุยกับลูกในระดับสายตาแล้ว อีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้ลูกฟังคุณพ่อคุณแม่นั่นก็คือการมองตากันขณะคุยนั้นเอง

โดยวิธีการเริ่มจากการย่อตัวลงไปให้อยู่ในระดับสายตาของลูก เรียกชื่อลูกด้วยน้ำเสียงเรียบและน่าฟัง แล้วมองตาลูกเพื่อพูดในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการสื่อสาร ลูกจะสนใจฟังสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่พูดได้ดีขึ้น

4. ร้องเพลงเรียกความสนใจ

วัยหัดเดิน

ถ้าพยายามเรียกชื่อ ย่อตัว จ้องตา และทำทุกอย่างที่ว่ามาแล้ว ก็ยังไม่สามารถทำให้ลูกที่รักหันมาสนใจรับฟังคุณพ่อคุณแม่ได้อีก ลองใช้วิธีร้องเพลงเรียกร้องความสนใจจากลูกไปเลยค่ะ

เพราะบางครั้งที่ลูกทำเป็นไม่สนใจคุณพ่อคุณแม่ ก็เพราะเดาทางได้ว่าพ่อแม่กำลังจะเข้ามาห้ามปรามหรือบอกให้เขาทำอะไรบางอย่างที่ไม่น่าสนใจสำหรับเขา แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่เลือกใช้วิธีการที่ดูสนุก ตื่นเต้น และไม่ตึงเครียดจนเกินไปในการเข้าหาลูก ก็จะทำให้ลูกคล้อยตามได้ง่ายขึ้น

5. สอนลูกด้วยคำที่สั้นกระชับ เข้าใจง่าย

วัยหัดเดิน

ลูกวัยหัดเดินเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่จะรู้สึกว่าลูกโตพอที่จะพูดคุยและสื่อสารเข้าใจได้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าลูกอาจจะยังมีไม่สามารถเข้าใจการใช้คำหรือภาษาที่ซับซ้อนของคุณพ่อคุณแม่ได้ดังนั้น หากต้องการสอนหรือบอกอะไรลูกวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกใช้คำที่กระชับ เข้าใจง่าย และไม่ยืดยาวเกินความเข้าใจของลูก ไม่อย่างนั้นแทนที่ลูกจะรับฟัง อาจจะยิ่งกลายเป็นไม่สนใจคำพูดของคุณพ่อคุณแม่เลยก็เป็นได้ค่ะ

6. ชมในสิ่งที่ลูกทำได้ดี

วัยหัดเดิน

การกล่าวชื่นชมเมื่อลูกทำสิ่งที่ดี เชื่อฟัง หรือรู้จักปรับปรุงแก้ไข เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ เพื่อทำให้ลูกรู้และมั่นใจว่าพฤติกรรมไหนที่ควรทำหรือไม่ควรทำ เมื่อลูกทำอะไรแล้วได้รับการตอบรับที่ดีจากคุณพ่อคุณแม่ ลูกจะมีกำลังใจ และเรียนรู้ที่จะเชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น

อ้างอิง
themilitarywifeandmom
positiveparentingsolutions
themilitarywifeandmom

Anittha R

หลงรักธรรมชาติของความเป็นเด็ก ชอบดูหนัง ชอบหนังสือนิทาน รักการเลี้ยงต้นไม้ และใฝ่ฝันอยากทำสวนกระบองเพรชที่มีดอกเยอะๆ

RELATED POST

COMMENTS ARE OFF THIS POST