เราได้มีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับ คุณพ่อฤทธิ์—ศุภฤทธิ์ ทวีเกียรติ คุณพ่อเลี้ยงเดียวของน้องเซน—ลูกชายวัย 8 ปี ที่เกิดมาพร้อมโรคอัลฟีซินโดรม (Alfi’s Syndrome) และเป็นที่มาที่ให้คุณฤทธิ์หันมาให้ความสนใจการบำบัดด้วยศาสตร์และวิธีต่างๆ จนมาลงตัวที่การบำบัดด้วยถาดทราย (sandtray.play.therapy) ที่นอกจากจะลงมือลงแรงศึกษาเพื่อใช้ในการบำบัดและส่งเสริมพัฒนาการให้กับน้องเซนแล้ว ยังเปิดบ้านเพื่อใช้ความรู้ด้านการบำบัดด้วยถาดทรายให้เป็นประโยชน์ทั้งกับเด็ก คุณพ่อคุณแม่ และคนอื่นๆ ต่อไป
ปัจจุบัน โลกของการเลี้ยงดูลูกไม่ได้ยึดติดอยู่กับความรู้และความเชื่อที่ส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่นอีกต่อไปแล้ว เราจึงได้เห็นการนำเสนอแนวทางการเลี้ยงลูกที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงลูกตามหลักทฤษฎีใหม่ๆ หรือแนวทางการเลี้ยงลูกของคุณแม่แต่ละประเทศ
การเอาลูกเข้านอน โดยเฉพาะในช่วงที่ลูกยังเป็นเบบี๋ ถือเป็นภาระกิจที่ยากลำบากเป็นอันดับต้นๆ ของชีวิตคุณพ่อคุณแม่ได้เลยทีเดียว เพราะเมื่อเราอยากให้ลูกหลับ ลูกน้อยก็มักจะไม่ยอมหลับ หรือหลับไปไม่นาน ก็สะดุ้งตื่นขึ้นมาใหม่ ทำเอาคุณพ่อคุณแม่ทั้งเหนื่อยทั้งสงสารตัวเอง และสงสารลูกน้อยที่ดูเหมือนจะนอนหลับได้ไม่สนิทเสียที
คุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยสงสัยว่า ทำไมตอนอยู่บ้าน ลูกของเราก็พูดคุย กล้าแสดงออก และเล่นสนุกได้ แต่พอออกไปข้างนอกทีไร เด็กที่เคยสดใสร่าเริง ก็กลายเป็นเด็กขี้อาย หลบตา และไม่กล้าแสดงออกขึ้นมาเฉยๆ
ถ้าให้คุณพ่อคุณแม่อธิบายคำว่า ลูกในอุดมคติ หรือลูกในฝันของพ่อแม่ทุกคน ก็คงจะต้องมีคุณสมบัติ เช่น ไม่ดื้อ ไม่ซน เชื่อฟังพ่อแม่ ว่านอนสอนง่าย อยู่ในรายการของสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ปรารถนา แต่ความเป็นจริงแล้ว เราไม่สามารถเลือกให้ลูกมีแต่นิสัยหรือพฤติกรรมอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการได้ เพราะสิ่งที่แตกต่างของแต่ละครอบครัวก็คือเทคนิคการเลี้ยงดูลูกที่ต่างกัน ย่อมส่งผลให้ลักษณะนิสัยของลูกแต่ละครอบครัวแตกต่างกันไปด้วย
คุณพ่อคุณแม่หลายคน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายน่าจะเคยมีประสบการณ์ได้ยินคำเตือนหรือข้อห้ามบางอย่างจากญาติผู้ใหญ่ เช่น คนท้องห้ามทำอย่างนั้น คนเพิ่งคลอดห้ามทำอย่างนี้ ถ้าคุณพ่อคุณแม่เห็นด้วยและยอมทำตามแต่โดยดี ก็ไม่มีปัญหา แต่บางข้อห้ามหรือคำเตือนที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผล ก็มักจะนำมาซึ่งความสงสัย ถ้าอธิบายให้เข้าใจกันได้ก็ไม่มีปัญหา แต่บางที แม้แต่ตัวเจ้าของความเชื่อ ก็ไม่รู้จะอธิบายเหตุผลที่ต้องเตือนหรือห้ามให้คุณแม่ยุคใหม่เข้าใจได้อย่างไร